ความรู้ทั่วไป

เคล็ดลับช่วยจำการผันวรรณยุกต์

By admin

October 06, 2021

เคล็ดลับช่วยจำการผันวรรณยุกต์

พื้นฐานสำคัญในการเรียนภาษาไทย นอกจากให้เด็กเริ่มรู้จักพยัญชนะ สระ การแจกลูกและการสะกดคำแล้ว การผันอักษรและการผันวรรณยุกต์เป็นขั้นตอนต่อไปที่เด็กๆต้องมั่นเรียน หมั่นจำอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นเรื่องซับซ้อนและรายละเอียดมากที่เด็กจะเข้าใจการผันวรรณยุกต์ในภาษาไทย ดังนั้นคุณครูอาจต้องมีวิธีและเทคนิคมากมายที่นำมาใช้สอน

วันนี้เราจัดเทคนิคและความรู้เรื่องการผันวรรณยุกต์มาฝากคุณครูภาษาไทยเพื่อนำมาใช้ในการสอนกันครับ

1. เสียงวรรณยุกต์      ไม่สามารถเกิดตามลำพัง จะเกิดพร้อมกับเสียงสระ

2. เสียงสระเป็นเสียงก้อง    จึงช่วยทำให้เสียงวรรณยุกต์เกิดระดับสูงต่ำคล้ายเสียงดนตรี ถ้าเส้นเสียงสั่นสะเทือนมาก จะมีเสียงสูง เส้นเสียงสั่นสะเทือนน้อย จะมีเสียงต่ำ

3. เสียงวรรณยุกต์     ทำให้คำมีความหมายแตกต่างกันออกไป เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า, เสือ เสื่อ เสื้อ

4. วรรณยุกต์      มี 5 เสียง 4 รูป ดังนี้

5. วรรณยุกต์   จำแนกตามลักษณะการใช้ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ   วรรณยุกต์มีรูป   และ   วรรณยุกต์ไม่มีรูปวรรณยุกต์มีรูป    ได้แก่ คำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์คำนั้นๆ เช่น ไก่ ได้ จ้ะ เอ๋ วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ปรากฏอยู่บนคำนั้น เช่น กา (สามัญ) จะ (เอก) ถะ (เอก) โมก (โท) คะ(ตรี) ขะ (จัตวา)

6. นักภาษาศาสตร์แบ่งวรรณยุกต์เป็น 2 กลุ่ม  คือ

6.1 วรรณยุกต์ระดับ (Level tone)    คือ วรรณยุกต์ที่มีความถี่ของเสียงค่อนข้างคงที่ตลอดพยางค์ ได้แก่   วรรณยุกต์สามัญ    (หน่วยเสียงวรรณยุกต์ระดับกลาง)

6.2 วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ (Contour tone) คือ วรรณยุกต์ซึ่งมีระดับความถี่ของเสียงเปลี่ยนแปลงมากในช่วงพยางค์หนึ่งๆ ได้แก่

หน้าที่ของวรรณยุกต์

วรรณยุกต์จะช่วยให้พยัญชนะและสระที่ประสมกันแล้วมีเสียงสูงๆ ต่ำๆ ทำให้เกิดคำเพิ่มขึ้น

การผันวรรณยุกต์

พยัญชนะไทยแบ่งได้เป็น 3 หมู่ โดยแบ่งพื้นเสียงที่ยังไม่ได้ผันซึ่งมีเสียงระดับสูง กลาง ต่ำ เรียกว่า ไตรยางศ์ จัดไว้เพื่อความสะดวกในการผันวรรณยุกต์ไตรยางศ์

คำเป็น คำตาย

คำเป็น    คือ    คำที่ประสมกับตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว หรือประสมกับสระเสียงยาวที่ไม่มีตัวสะกด หรือประสมกับสระ อำ ไอ ใอ เอา

คำตาย    คือ    คำที่ประสมกับตัวสะกด แม่ กก กด กบ หรือประสมกับสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด

การผันวรรณยุกต์

*อักษรสูงใช้อักษรต่ำคู่, อักษรต่ำคู่ ใช้อักษรสูง และอักษรต่ำเดี่ยว ใช้ตัว ห   อ   นำ เพื่อให้ช่วยผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียงได้

* อักษรสูงและอักษรต่ำ เมื่อผันแล้ว แม้จะมีเสียงตรี หรือ เสียงจัตวา แต่จะไม่ใช้ รูปวรรณยุกต์ตรี และ จัตวา เด็ดขาด!!

เมื่อเข้าใจหลักการแล้ว เรามาเพิ่มเทคนิคเพื่อง่ายต่อการสอนของคุณครูกัน ด้วยการผันอักษร 3 หมู่ แบบใช้นิ้วมือ

เทคนิคง่ายๆช่วยให้เด็กฝึกจำและเข้าใจด้วยการใช้นิ้วมือ นอกจากนั้นการฝึกซ้ำ ย้ำ ทวน บ่อยๆ จะทำให้เด็กชำนาญเรื่องการผันวรรณยุกต์และอักษร 3 หมู่ได้ดียิ่งขึ้น คุณครูคนไหนยังไม่มีเทคนิคเจ๋งๆ อย่าลืมนำเทคนิคนี้มาช้ากันนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :

นอกจากนี้ท่านยังสามารถ อัพเดต ติดตามข้อมูลข่าวสาร แผนการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน รวมถึงสาระดีดี ได้ที่ www.krumaiiam.comFacebook Fanpage : krumaiiam เพราะเราคือครูรุ่นใหม่Facebook Fanpage : วิถีครูเวรFacebook Group: แบ่งปันสื่อการสอน by krumai