จิตวิทยาการศึกษา สำหรับเตรียมสอบครู EP 1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาสําหรับครู

“ครู” ถือเป็นอาชีพที่มีความสําคัญต่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ระบบการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต หน้าที่หลักของครู คือ การจัด การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ทั้งด้านกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และ จริยธรรม ให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า สามารถพึ่งพาตนเอง สร้างสรรค์ชุมชน สังคมและ ประเทศชาติ มีความรู้และมีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต การที่จะดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ครูต้องให้ความสําคัญกับองค์ประกอบทุกด้าน ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน วิธีสอน สื่อ เป็นต้น โดยเฉพาะ ตัวผู้เรียนซึ่งล้วนแต่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการที่ครูมีความรู้ความเข้าใจในจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้ หลักและเทคนิคทางจิตวิทยาที่ นํามาใช้ในการเรียนการสอน การดูแลช่วยเหลือ การพัฒนาบุคลิกภาพผู้เรียน การสร้างความสัมพันธ์ และบรรยากาศในการเรียนรู้ เป็นต้น แล้วนํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สู่เป้าหมายดังกล่าว จึงถือว่าสําคัญยิ่ง รวมทั้งจะส่งผลดีต่อการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและถือว่าเป็นภาระหน้าที่อันสําคัญ ของครู

ความเป็นมาของจิตวิทยา https://www.youtube.com/watch?v=4uIMLpdud6U

ความเป็นมาของจิตวิทยา

จิตวิทยาเป็นวิชาที่มีการศึกษามาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณเมื่อสองพันกว่าปีล่วงมาแล้ว โดยในขณะนั้นมีนักปรัชญาเมธีคนสําคัญ เช่น เพลโต (Plato) และ อริสโตเติล (Aristotle) ได้พยายาม ทําความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ โดยมีงานเขียนที่เกี่ยวกับความสุข ความเพลิดเพลิน ความเจ็บปวด ความรู้สึกสัมผัสทั้งห้า การจินตนาการ ความปรารถนา และลักษณะ อื่นๆ ของจิตใจ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วนักปรัชญาในขณะนั้นมีความเชื่อตรงกันที่ว่ามนุษย์มี ส่วนประกอบสําคัญสองส่วน ได้แก่ ร่างกาย (body) กับวิญญาณ (soul) โดยวิญญาณจะมีอิทธิพลเหนือ ร่างกายที่จะคอยควบคุมให้ร่างกายกระทําสิ่งต่างๆ ดังนั้น การจะเข้าใจมนุษย์ได้จึงต้องอธิบายวิญญาณ ให้ชัดเจนเสียก่อน อย่างไรก็ตาม การอธิบายเกี่ยวกับวิญาณในขณะนั้นจะออกมาในลักษณะแนวปรัชญา มากกว่าจะพิสูจน์ทดลองในแง่วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากนักปรัชญาในยุคกรีกมักนิยมหาคําตอบ เกี่ยวกับวิญญาณโดยใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลของตนผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาในขณะนั้น การใช้วิธีเช่นนี้ทําให้ได้คําตอบออกมาหลากหลายไม่แน่นอนและไม่ชัดเจน นักจิตวิทยาในยุคหลังจึงขนานนามการใช้วิธีนี้ว่า อาร์มแชร์ (armchair method) เพราะเป็นวิธีการหาคําตอบแบบนั่งอยู่กับที่ ไม่มีการค้นคว้า ทดลอง หรือพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ให้เห็นจริง

ต่อมาเมื่อโลกเข้าสู่ยุคแห่งความเจริญทางวิทยาศาสตร์ จึงมีผู้พยายามจะนําความรู้ทาง วิทยาศาสตร์มาเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับวิญญาณแต่ก็ยังไม่ได้รับความรู้เพิ่มเติมแต่อย่างใด ทําให้ นักจิตวิทยารุ่นหลังๆ หันมาสนใจเกี่ยวกับจิต (mind) แทน เช่น เรอเน เดคาร์ท (Rene Descartes) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้เสนอทฤษฎีที่เชื่อว่า ร่างกายและจิตใจเป็นคนละส่วนและแยกจากกัน ซึ่งรู้จัก กันดีในชื่อ ทวินิยม (dualism) โดยทั้งสองส่วนจะมีปฏิสัมพันธ์กันเพียงแต่ผ่านโครงสร้างเล็กๆ ในสมอง ต่อมาภายหลัง การศึกษาของเดคาร์ททําให้เกิดวิชาที่เรียกว่า สรีรจิตวิทยา ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมการแสดงออกมาที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างพฤติกรรมกับระบบประสาทและสมอง ในขณะที่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) และนักปรัชญาชาวอังกฤษคนอื่นๆ ไม่เห็นด้วย เพราะมี ความเชื่อว่า กายและจิตใจเป็นสิ่งเดียวกัน ทั้งนี้เพราะประสบการณ์ของมนุษย์ทั้งหมด ซึ่งได้รวมไปถึง ความคิดและความรู้สึกอย่างรู้ตัวจัดได้ว่าเป็นกระบวนการทางกายที่ถูกควบคุมโดยสมอง

นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่เชื่อว่าจิตเป็น ส่วนสําคัญในการควบคุมพฤติกรรมมนุษย์เรียกว่า แอนิมิซึม (animism) ดังเช่น จอห์น ล็อค (John Lock) นักปรัชญาชาวอังกฤษได้พยายามศึกษา และค้นคว้าเกี่ยวกับจิตของบุคคล โดยอธิบายว่า จิตคือความรู้ตัว (conscious) จิตของมนุษย์ แรกเริ่มบริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว สิ่งแวดล้อมจะเป็น ตัวการทําให้จิตของบุคคลเปลี่ยนไป เหมือนกับ เป็นการแต้มสีสันลงบนผ้าขาว คําอธิบายนี้แสดง ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จอห์น ล็อคจะให้ ความสําคัญกับประสบการณ์ของบุคคลที่ได้รับ

จากสิ่งแวดล้อมในภายหลังว่ามีบทบาทต่อพฤติกรรมของบุคคล ถึงอย่างไรก็ตามคําอธิบายเกี่ยวกับจิตถึงแม้จะได้รับความเชื่อถืออยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ตามหลัก และวิธีการทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน

จอห์น ล็อค (John Lock)
นักปรัชญาชาวอังกฤษ

ข้อมูล: สุนิสา วงศ์อารีย์ คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

นอกจากนี้ท่านยังสามารถ อัพเดต ติดตามข้อมูลข่าวสาร แผนการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน รวมถึงสาระดีดี ได้ที่ www.krumaiiam.com
Facebook Fanpage : krumaiiam เพราะเราคือครูรุ่นใหม่
Facebook Fanpage : วิถีครูเวร
Facebook Group: แบ่งปันสื่อการสอน by krumai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed