ยินดีต้อนรับเข้าสู่”เส้นทางราชการ”

0

ยินดีต้อนรับเข้าสู่”เส้นทางราชการ” เป็นราชการแล้วได้อะไร

“งานของแผ่นดินนั้น เป็นงานส่วนรวม มีผลเกี่ยวเนื่องถึงความเจริญขึ้นหรือเสื่อมลง ของบ้านเมือง และสุขทุกข์ ของประชาชนทุกคน ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของ แผ่นดิน จึงต้อง สำนึกตระหนักในความรับผิดชอบที่มีอยู่ และตั้งใจพยายามปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มกำ ลังความสามารถ ด้วยความเข้มแข็งสุจริต และด้วยปัญญา รู้คิด พิจารณา ว่า สิ่งใดเป็นความเจริญ สิ่งใดเป็นความเสื่อม อะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำอะไรเป็นสิ่งที่ต้องละเว้น และจำกัด อย่างชัดเจน ถูกต้อง”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช 2550

“ข้าราชการคือข้าของแผ่นดิน”

คำว่า “ข้าราชการ” แยกออกเป็น 3 คำ ดังนี้

1. คำว่า “ข้า” หมายถึง ผู้ทำการงาน ผู้รับใช้

2. คำว่า “ราช” มาจาก คำว่า ราชา หรือพระมหากษัตริย์ 3. คำว่า “การ” หมายถึง การงาน, หน้าที่

เมื่อรวมกันแล้ว คำว่า “ข้าราชการ” จึงมีความหมายว่า “เป็นผู้ทำการงานต่าง(แทน)พระราชา ในนาม พระราชา

ความมั่นคง สวัสดิการและความก้าวหน้าในอาชีพราชการ

อาชีพรับราชการเป็นอาชีพที่น่าสนใจ และมีความมั่นคงในชีวิต แม้ภาวะเศรษฐกิจโลกจะผันผวน

เป็นข้าราชการแล้วได้อะไรบ้าง

1. ความมั่นคงของราชการ

– เมื่อสอบเข้าบรรจุได้แล้วนั่นหมายถึงเราจะมีงานทําไปจนกว่าเกษียณอายุ เงินเดือนเพิ่มขึ้นทุก 6 เดือน มีความก้าวหน้าในแต่ละสายงาน

– ไม่ต้องกลัวโดนไล่ออกเพราะเงินเดือนเราเยอะ อายุเรามากขึ้น หรือเศรษฐกิจไม่ดี ต้องลดจํานวนคนงาน หรือไล่คนงานออก

– มีเงินบําเหน็จบํานาญ เกษียณเราสามารถเลือกได้ว่าเราจะรับเงินบํานาญ หรือเงินบําเหน็จ

2. เงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการ

– เงินเดือนข้าราชการตอนนี้เริ่มบรรจุก็ได้เงินเดือนพอๆกับเด็กจบใหม่เข้าทํางานตาม บริษัทเอกชนทั่วไป หรือไม่อาจมากกว่า

– เงินเดือนบรรจุครั้งแรกสําหรับวุฒิ ปวช. 9,440 บวกค่าครองชีพไม่เกิน 11,440 บาท

– เงินเดือนบรรจุครั้งแรกสําหรับวุฒิ ปวส. 11,510 บวกค่าครองชีพไม่เกิน 13,285 บาท

– เงินเดือนบรรจุครั้งแรกสําหรับวุฒิ ป.ตรี 15,050 บาท

– เงินเดือนประจําตําแหน่ง เช่น นิติกร มีเงินประจําตําแหน่ง หัวหน้าฝ่าย ระดับผู้บริหารตําแหน่งต่างๆ (ตามเงื่อนไขแต่ละตําแหน่ง)

3. สวัสดิการของข้าราชการ

– ค่ารักษาพยาบาล ครอบคลุมบิดา มารดา คู่สมรสและบุตร

– เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร

– บําเหน็จบํานาญ

– โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ

– เงินสวัสดิการสําหรับการปฏิบัติงานประจําสํานักงานในพื้นที่พิเศษ

– การลาประเภทต่าง ๆ เช่น ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาคลอด ลาอุปสมบท

– เครื่องราชอิสริยาภรณ์

– บําเหน็จความชอบ

4. ประโยชน์เกื้อกูล

– ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

– ค่าเช่าบ้าน

– เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

– รถประจําตําแหน่ง

– โทรศัพท์ของทางราชการที่อนุมัติให้ใช้เป็นรายบุคคล

5. ความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่การงานความเจริญก้าวหน้าในแต่ละสายงาน เช่น เราบรรจุครั้งแรกประเภทวิชาการคือเริ่มจากวุฒิ ปริญญาตรี ในระดับปฏิบัติการ เลื่อนเป็นชํานาญการ ชํานาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ ซึ่งแต่ละ ระดับมีหลักเกณฑ์ในการเลื่อนแต่อยู่ในความเจริญก้าวหน้าในสายงานความเจริญก้าวหน้าในสายงานผู้บริหารหากเรามีคุณสมบัติ เช่นวุฒิการศึกษาตรง ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และเป็นผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเราก็สามารถดํารงตําแหน่งใน สายงานผู้บริหารนั้นๆ

ประเภทของข้าราชการ

ข้าราชการไทยมีหลายประเภท ได้แก่ 1.ข้าราชการพลเรือน มีข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์

– ข้าราชการพลเรือนคือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับปัจจุบันคือ พ.ศ. 2551) โดยการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็น ข้าราชการพลเรือนสามัญ จะดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน หรือในบางกรณีอาจมีการมอบหมายให้กรมต้นสังกัด เป็นผู้ดําเนินการคัดเลือกฯ ซึ่งการสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง (ภาค ค.)

-ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสํานักพระราชวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ในพระองค์ เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

2.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ปัจจุบันไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว โดยสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จะใช้การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยทดแทน อัตราข้าราชการเดิม

3.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคลากรของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ใน ราชการไทย ในอดีตมีชื่อเรียกว่า “ข้าราชการครู” ภายใต้การกํากับดูแลของ สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการครู ที่สังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าราชการครูองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด พนักงานครูเทศบาล พนักงานครูองค์การบริหารส่วนตําบล

4.ข้าราชการทหาร คือ บุคคลที่เข้ารับราชการทหารประจําการ ข้าราชการกลาโหม และพลเรือนที่บรรจุในอัตราทหาร ในหน่วยงานทางการทหาร ซึ่งสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือกองทัพไทย

5.ข้าราชการตํารวจ คือ ข้าราชการในสังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงมีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

6.ข้าราชการฝ่ายตุลากรศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการที่บรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติ ราชการในศาลยุติธรรม และสํานักงานศาลยุติธรรม มีคณะกรรมการข้าราชการ ตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) เป็นคณะกรรมการกลางกํากับดูแล ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๓ แบ่งออกเป็น

– ข้าราชการตุลาการ (ศาลยุติธรรม) คือ ข้าราชการที่มีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณา และพิพากษาคดีความในศาลยุติธรรม

– ดะโต๊ะยุติธรรม คือ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ในการ วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม

– ข้าราชการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการที่ทําหน้าที่ด้านธุรการในสํานักงานศาลยุติธรรม

7.ข้าราชการฝ่ายอัยการ คือ ข้าราชการที่บรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการใน สํานักงานอัยการสูงสุด (เดิมคือ “กรมอัยการ”) มีคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เป็นคณะกรรมการกลางในการกํากับดูแล ข้าราชการฝ่ายอัยการยังแบ่งออกเป็น

– ข้าราชการอัยการ

– ข้าราชการธุรการ ในหน่วยงานของอัยการ

8.ข้าราชการรัฐสภา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

– ข้าราชการรัฐสภาสามัญ คือ ข้าราชการซึ่งรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประจํา

– ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง คือ ข้าราชการซึ่งรับราชการในตําแหน่งการเมือง ของรัฐสภา

9. ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่รับราชการและดํารงตําแหน่งในศาลปกครองและสํานักงานศาลปกครอง มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง แบ่งออกเป็น

– ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่มีอํานาจพิจารณาและพิพากษาคดี ในศาลปกครอง

– ข้าราชการสํานักงานศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่ทําหน้าที่ด้านธุรการในสํานักงาน ศาลปกครอง

10. ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่รับราชการและดํารงตําแหน่ง ในศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการฝ่ายศาล รัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น

– ข้าราชการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่มีอํานาจพิจารณา และพิพากษาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ

– ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่ทําหน้าที่ด้านธุรการ ในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ

11. ข้าราชการสํานักงานปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้าราชการสํานักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คือ ข้าราชการในสังกัด สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ

12. ข้าราชการสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นข้าราชการในสังกัดสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

13.ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงิน งบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร หรือจากเงินงบประมาณหมวด เงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานคร

14. ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตําบล ตามกฎหมายว่า ด้วยการนั้น แต่ไม่รวมถึงข้าราชการกรุงเทพมหานคร

15.ข้าราชการการเมือง คือ ผู้ที่รับราชการในตําแหน่งทางการเมืองซึ่งแบ่งออกเป็น

– ข้าราชการการเมือง และผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง คือ ข้าราชการและผู้ที่ดํารง ตําแหน่งทางการเมืองตามมติของคณะรัฐมนตรี

– ข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร คือ ข้าราชการและผู้ที่ดํารงตําแหน่งทาง การเมืองในการปกครองท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร

– ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น และผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น คือ ข้าราชการและผู้ที่ดํารงตําแหน่งราชการทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

16. พนักงานอื่นของรัฐนอกจากข้าราชการแล้วยังมีพนักงานของรัฐประเภทอื่นที่มีลักษณะงานแบบเดียว หรือคล้ายคลึงกับข้าราชการ ซึ่งจะมีลักษณะการบริหารจัดการบุคลากรแบบ เดียวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญในอดีต คือจ้างให้รับราชการหรือปฏิบัติงาน เฉพาะ หรือไม่ดํารงตําแหน่งประจําแบบข้าราชการ ซึ่งได้แก่

– พนักงานราชการ บรรจุแทนอัตราของลูกจ้างประจํา

– พนักงานมหาวิทยาลัย บรรจุแทนอัตราของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

– พนักงานรัฐวิสาหกิจบรรจุแทนอัตราของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์

– พนักงานองค์การมหาชนและหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการคือพนักงานองค์การมหาชนและองค์การของรัฐ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ

– พนักงานกระทรวงสาธารณสุขพนักงานกระทรวงสาธารณสุข บรรจุทดแทน/รองรับบางตําแหน่งของข้าราชการ ในกระทรวงสาธารณสุขในระยะชั่วคราวจนกว่าตําแหน่งข้าราชการนั้นๆ จะว่างลง จึงจะบรรจุเป็นข้าราชการ และบรรจุทดแทนลูกจ้างประจําซึ่งปัจจุบัน ไม่ได้มีการบรรจุเป็นลูกจ้างประจําแล้ว

– ลูกจ้างประจํา ลูกจ้างประจํา แปรสภาพมาจากข้าราชการพลเรือนวิสามัญ มีอยู่ 2 ประเภท

– ลูกจ้างประจําส่วนราชการ เงินงบประมาณ เป็นลูกจ้างประจําที่จ้างให้ปฏิบัติงานใน ส่วนราชการ โดยใช้เงินงบประมาณจากกระทรวงการคลัง ปัจจุบันไม่มีการบรรจุ ลูกจ้างประจําประเภทนี้แล้ว โดยตําแหน่งที่ว่างลงจะถูกยุบเลิก และให้จ้างพนักงาน ราชการมาปฏิบัติงานราชการแทนตําแหน่งที่ว่างลง

– ลูกจ้างประจําส่วนราชการ เงินรายได้ เป็นลูกจ้างประจําที่จ้างให้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ โดยใช้เงินรายได้ของส่วนราชการนั้นๆ

– ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างชั่วคราว มีลักษณะงานและตําแหน่งแบบเดียวกับลูกจ้างประจํา แต่จ้าง ไว้ในระยะชั่วคราว

นอกจากนี้ท่านยังสามารถ อัพเดต ติดตามข้อมูลข่าวสาร แผนการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน รวมถึงสาระดีดี ได้ที่ www.krumaiiam.comFacebook Fanpage : krumaiiam เพราะเราคือครูรุ่นใหม่Facebook Fanpage : วิถีครูเวรFacebook Group: แบ่งปันสื่อการสอน by krumai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed