วันสตรีสากลเป็นการเฉลิมฉลองในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีทั่วโลก และเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี

หลังพรรคสังคมนิยมอเมริกันจัดงานวันสตรีขึ้นในนิวยอร์กซิตีเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 1909 ผู้แทนชาวเยอรมัน คลารา เซตคินเคท ดันเกอร์พอลา เธียด และคนอื่น ๆ ได้เสนอแก่งานสัมมนาสตรีสังคมนิยมสากล ปี 1910 ให้มี “วันสตรีเป็นพิเศษ” จัดขึ้นในทุก ๆ ปี ภายหลังสตรีจำนวนมากทุกข์ทนภายใต้การปกครองของโซเวียตรัสเซียในปี 1917 วันที่ 8 มีนาคม ได้กลายเป็นวันหยุดทางการของที่นั่น นับแต่นั้นมา วันสตรีได้เป็นที่เฉลิมฉลองในบรรดากลุ่มเรียกร้องสังคมนิยมและประเทศคอมมิวนิสต์จนกระทั่งในราวปี 1967 ที่ซึ่งกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีได้เริ่มนำวันนี้มาใช้ สหประชาชาติได้เริ่มฉลองวันสตรีสากลครั้งแรกในปี 1977

ความสำคัญของวันสตรีสากล

  • วันสร้างการรับรู้ของพลเมือง
  • วันสตรีและเด็กหญิง
  • วันต่อต้านการเหยียดเพศ
  • วันต่อต้านการเลือกปฏิบัติ

สิทธิสตรี (อังกฤษ: Women’s rights) คือ สิทธิและการให้สิทธิแก่สตรีและเด็กหญิงในสังคมต่างๆ ทั่วโลก ในบางแห่ง กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และพฤติกรรมมีส่วนให้การสนับสนุนและสร้างสิทธิเหล่านี้ขึ้นมาเป็นอย่างขนบ ธรรมเนียมประเพณี ในขณะที่ในที่อื่นๆ ผู้คนเพิกเฉยสิทธิสตรีและยับยั้งสิทธิเหล่านี้ สิทธิสตรีแตกต่างจากแนวคิดในมุมมองที่กว้างขึ้นในเรื่องสิทธิมนุษย์โดย พิจารณาจากข้ออ้างต่างๆแสดงความลำเอียงทางประเพณีหรือทางประวัติศาสตร์ที่มี มา ข้ออ้างดังกล่าวต่อต้านการใช้สิทธิสตรีและเด็กหญิงและให้การยอมรับผู้ชายและ เด็กผู้ชายมากกว่า

ประเด็นต่างๆที่มีเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องสิทธิ สตรี ซึ่งประเด็นเหล่านี้พบเห็นแพร่หลายไม่มีขอบเขตจำกัด ประเด็นเหล่านี้รวมไปถึง สิทธิความชอบธรรมในร่างกายของตน (Bodily integrity) และการตัดสินใจในเรื่องส่วนบุคคล (Autonomy) สิทธิในการออกเสียง ( สิทธิในการเลือกตั้ง หรือเรียกว่า suffrage ในภาษาอังกฤษ) สิทธิในการดำรงตำแหน่งสาธารณะ (public office) สิทธิในการทำงาน สิทธิในค่าจ้างที่ยุติธรรมหรือรายได้ที่เท่าเทียมกัน สิทธิในการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ สิทธิในการศึกษา สิทธิในการเข้ารับราชการทหารหรือถูกเกณฑ์ทหาร (conscript) สิทธิในการเข้าทำสัญญาทางกฎหมาย ตลอดจนสิทธิคู่สมรส สิทธิปกครองของบิดามารดา (parental rights) และสิทธิทางศาสนา

ข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed