ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา

0

ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา

1. ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้

1.1กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทฤษฏีการเสริมแรง ของพาฟลอบ การปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวสิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้น ได้ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง

นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ พาฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว   สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทําให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม  ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ

1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)

2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)

3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ  

ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ คือ

           1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน

           2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขา ไว้ 5 ประการ คือ

            1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)

            2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)

            3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)

            4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตตะบุคคล (Individualization)

            5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)

            ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง(S-RTheory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียวสิ่งเร้านั้นๆก็คงจะทําให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ถ้าได้แนวคิดของสกินเนอร์นั้นนํามาใช้ในการสอนแบบสําเร็จรูปหรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก

            คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คือ หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สําคัญในกิจกรรมการเรียนการ สอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของผู้เรี ยนที่จะศึกษา การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กบความสามารถของผู้สอน และผู้เรียน กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบการมีส่วนรวมและ การปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด การฝึกซํ้าและ การเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ อัตราการเสนอสื่อ ในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะต้องมีความสอดคล้องกับความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล การถ่ายโยงที่ดีโดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนําในการปฏิบัติ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนําไปใช้ในสถานการณ์จริง  การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น

ส่วนบูเกสสกี (Bugelski) ได้สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทําของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวกซึ่ งหมายถึงว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน

หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษายังต้องอาศัยวิธีการที่สําคัญ คือ วิธีการเชิงมนุษยวิทยา (Humunistic Approach) ได้แก่ การที่ครูให้ความสนใจต่อการพัฒนาในด้านความเจริญเติบโตของผู้เรียนแต่ละคนวิธีการสอนเชิงระบบ (Systematic  Approach) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีระบบทั้งเพราะการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะของการเข้าใจเนื้อหาวิชาจิตวิทยาการเรียนรู้ 

1.2 กลุ่มความรู้ (Cognitive)

ทฤษฏีภาคสนาม เช่นของไดเลอร์ (congnitive Field Theory )เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อนโดยเน้นเรียนจากประสบการณ์

ความหมายกลุ่มปัญญานิยม

ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกวากลุ่มพุทธินิยมเป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด                        

 จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทําและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง

ทฤษฎีปัญญานิยมนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้(Chomsky) ที่ไม่เห็น ด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner)บิดา ของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์มนุษย์ไว้วา เป็นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อวา พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกนออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคํานึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วย

2. ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล

 ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus-Response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory) ของกาเย่ และนำมาประยุกต์ใช้อธิบายว่า บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น

 ความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน ได้แก่ 

1) มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล

2) ความแตกต่างนี้บางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาค หรือทางร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้

3) มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ จะเปิดรับความคิดเห็นแตกต่างกันไป

4) การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป

3. ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเพียเจท์  บรูนเนอร์  อิริคสัน กีเซล

        ทฤษฎีพัฒนาการของกีเซล (Gesell’s Theory of Development) ได้อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการ ซึ่งจะเป็นไปตามธรรมชาติ และเมื่อถึงวัยก็จะสามารถ กระทําพฤติกรรมต่างๆ ได้เอง ไม่จําเป็นต้องฝึก หรือเร่งเมื่อยังไม่พร้อมในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องคำนึงความพร้อม ความสามารถ ความสนใจ และความตองการของผู้เรียน

ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจท์ (Piaget’s Theory of Development)  ได้อธิบายว่าการ พัฒนาการสตปัญญาและความคิดของผู้เรียนนั้นเกิดจากการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนควรจะต้องจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนด้วย

ทฤษฎีพัฒนาการของบรูเนอร์ (Bruner’s Theory of Development)  ได้อธิบายการ ความพร้อมของเด็กสามารถจะปรับได้ซึ่งสามารถจะเสนอเนื้อหาหาใดๆ แก่เด็กในอายุเท่าใดก็ได้แต่จะต้องรู้จักการตัดเนื้อหาและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเหล่านั้น  ดังนั้นผู้สอนจึงจําเป็นจะต้องเข้าใจเด็ก และรู้จักกระตุ้นโดยการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็กด้วย

ทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสัน (Erikson’s Theory of Development ) ได้อธิบายว่า การพัฒนาการทางบุคลิกภาพย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์กับสภาพสังคมที่มีอิทธิพลมาเป็นลําดับขั้นของการพัฒนา และจะสืบเนื่องต่อๆ ไปเด็กที่มีสภาพสังคมมาดี ก็จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี  ดังนั้นผู้สอนควรจะต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียน ให้ความสนใจเพื่อชวยแก้ปัญหาค่านิยมบางประการ

หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาที่สําคัญ

 จิตวิทยาที่เกี่ยวขี้องกับการศึกษาและการเรียนการสอนโดยตรงได้แก่

            1. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental psychology) จะกล่าวถึงพัฒนาของบุคคลแต่ละวัยในด้านต่างๆ หรือความพร้อมของผู้เรียน ซึ่งช่วยในการจัดการเรียน การอบรมสั่งสอนมีความสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนยิ่งขึ้น    

         2. จิตวิทยาที่ว่าด้วยความแตกต่างระหว่างบุคคล (Psychology of individual Differences) จะกล่าวถึงความแตกต่างของบุคคลในด้านต่างๆ และธรรมชาติของบุคคลที่จักต้องยอมรับลักษณะเช่นนี้เพื่อที่จะชวยจัดการศึกษาให้ดีที่สุดสําหรับผู้เรียนทุกๆ คน

            3. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of learning) จะกล่าวถึง สภาพการณ์เรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ของคนเรา ซึ่งจะอธิบายโดยทฤษฎีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (S-R Theory) ลักษณะหนึ่งและอธิบายโดยทฤษฎีความรู้ (Cognitive Theory) หรือ Cognitive-rield Theory) ซึ่งจะช่วยในด้านการสอนโดยตรง

            4. จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) จะกล่าวถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ และแรงจูงใจที่ปฎิสัมพันธ์กัน ซึ่งจะชวยให้ผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนดีขึ้น

        5. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) จะกล่าวถึง คุณค่า จริยธรรม และการรวมกลุ่มของบุคคล รวมทั้งอิทธิพลของกลุ่มและสภาพแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการเรียนการสอน และการปรับสภาพการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสังคม

☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆

นอกจากนี้ท่านยังสามารถ อัพเดต ติดตามข้อมูลข่าวสาร แผนการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน รวมถึงสาระดีดี ได้ที่ www.krumaiiam.com
Facebook Fanpage : krumaiiam เพราะเราคือครูรุ่นใหม่
Facebook Fanpage : วิถีครูเวร
Facebook Group: แบ่งปันสื่อการสอน by krumai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed