ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

0

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

ประวัติของโคลเบิร์ก 
        ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)  ผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์  ทฤษฎีของโคลเบิร์กได้ชื่อทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)  โคลเบิร์ก (Lawrence  Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
        โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น ดังนี้

        ระดับที่  1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม จะพบในเด็ก 2-10 ปี โคลเบิร์กแบ่งขั้นพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น  ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า  พฤติกรรมของตน “ถูก” หรือ “ผิด”เป็นต้นว่า  ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ  “ผิด” และจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก  พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ถูก”  และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล

            ขั้นที่ 2  ระดับจริยธรรมของผู้อื่น  ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ  เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเอง  แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค “ถ้าเธอทำให้ฉัน  ฉันจะให้…….”

        ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี  โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม  ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน  ไม่เป็นตัวของตัวเอง  คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น  เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี  พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ

            ขั้นที่ 4  กฎและระเบียบของสังคม  จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด  เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม  ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ13 -16 ปี  ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม   โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น  จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้

        ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ

            เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป  ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ  ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม  การตัดสินใจ   “ถูก”  “ผิด” “ไม่ควร” มาจากวิจารณญาณของตนเอง

โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 5  สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา  ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม  โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม  ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ “ถูก” และ  “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล

            ขั้นที่ 6  หลักการคุณธรรมสากล  ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล  เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม  เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน  ในขั้นนี้สิ่งที่ “ถูก” และ  “ผิด”  เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของลอว์เรนซ์ โคลเบอร์ก

        ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์กทำให้ครูได้ทราบว่าในช่วงก่อน 10 ขวบเด็กจะเรียนด้านจริยธรรมจากผลของการกระทำของตนเอง ในช่วงวัยนี้เราควรชี้แจงถึงสิ่งที่ถูกต้องอย่างเหมาะสม มีการใช้คำชมเชย ของรางวัลกับเด็กที่กระทำตนเป็นเด็กดี และมีการว่ากล่าวตักเตือนเด็กเมื่อทำผิดไม่ใช่ปล่อยเพราะคิดว่ายังเยาว์วัยอยู่ ในการว่ากล่าวตักเตือนต้องอธิบายถึงสิ่งที่เด็กทำผิดด้วย

        ในระดับตามกฎเกณฑ์เด็กจะเรียนจากสังคมกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน และจะเรียนรู้จากบุคคลอื่นๆ หรือมีการเลียนแบบ ผู้ปกครองและครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี และควรหาแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง เช่น การเล่าถึงผู้ที่กระทำความดี การเล่านิทานที่ให้แง่คิด เป็นต้น ในระดับนี้ครูควรเริ่มสอนเรื่องบทบาท หน้าที่ และกฎระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ควรใช้วิธีที่เข้าใจง่ายเพื่อให้เด็กสนใจ เช่น การให้ดูวิดีโอเกี่ยวกับกฎหมาย บทลงโทษ เป็นต้น

        ระดับเหนือกฎเกณฑ์เด็กเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดที่อิสระมากขึ้น เด็กเริ่มเป็นผู้ตัดสินว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดด้วยตนเอง ในช่วงวัยนี้ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากกรณีศึกษาต่างๆ ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์และร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นๆ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะไปในทางที่ถูกต้อง

แหล่งข้อมูลอ้างอิงhttp://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/concepts_of_developmental_psychology/01_7.html

นอกจากนี้ท่านยังสามารถ อัพเดต ติดตามข้อมูลข่าวสาร แผนการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน รวมถึงสาระดีดี ได้ที่ www.krumaiiam.com
Facebook Fanpage : krumaiiam เพราะเราคือครูรุ่นใหม่
Facebook Fanpage : วิถีครูเวร
Facebook Group: แบ่งปันสื่อการสอน by krumai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed